 |
|
|
|
การจับประคองสัตว์เล็ก
|
|
|
|
|
|
จับประคองเต่า
ถ้าหากเราพบเห็นเต่าธรรมชาติ
จะจับเต่ามานั้นจับอย่างไรก็ได้ ประสงค์ที่จะให้ได้เต่า
เท่านั้น โดยเฉพาะคนที่ไม่มีความสำนึกถึงการอนุรักษ์ ไม่มีผู้รับผิดชอบในการใช้ทรัพยากร
ธรรมชาติว่าคุ้มค่าหรือไม่ จับเต่ามาทำอาหารทั้งที่ได้ปริมาณอาหารไม่คุ้มและไม่มีความจำเป็น
ในเรื่องการขาดแคลนถึงขั้นนั้น เช่นการจับตะพาบโดยใช้วิธีวางเป็ดและใช้ฉมวกแทง
การจับเช่นนั้นคือการล่าสังหาร ไม่ใช่การจับประคอง
การจับประคองคือการจับที่จะพยายามไม่ให้เกิดการตกใจตื่นกลัว
เกิดอาการเครียด เกิดการเจ็บ หรือให้มีปฏิกิริยาเช่นนั้นน้อยที่สุด
ซึ่งโดยปกติก็จะจับยกที่กระดองด้านข้าง ยกเต่าขึ้น และวางลงเบา ๆ ก็เป็นการใช้ได้
|
|
|
|
|
|
ไม่ทำให้เต่าตกใจ และบาดเจ็บอะไร แต่ก็มีเต่าบางประเภทที่ไม่สามารถ
จับเช่นนั้นได้ เช่นเต่าจำพวกนั้นมีกระดองเล็กแต่มีหัวโต
คอยางยืดออกมา ได้มากนนอจากนั้นยังดุ มักยืดหัวคอมาแว้งกัดถึง มีอันตรายแก่ผู้จับ
เช่นเต่าปูลู (Platysternon megacephalum) และเต่าต่างประเทศที่มีรูปร่างคล้ายเต่าปูลู
คือเต่าสแน็ปปิ้ง (Snapping Turtle) และเต่าแอลิเกเตอร์ (Alligator
Snapping Turtle) เต่าพวกนี้มีหางยาวมาก หางใหญ่แข็ง การจับจึงควรจับหิ้วที่โคนหาง
(อย่าจับปลายหาง) เนื่องจากเต่าพวกนี้มีหางแข็งแรง และขนาดหางใหญ่ดังกล่าว
การจับโคนหางหิ้ว เต่าจะไม่ตกใจและไม่เจ็บอะไร
|
|
|
|
|
|
|
|
ตะพาบเป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีนิสัยดุ
ปากคม ยืดคอออกได้ยาว แว้งกัดเก่ง ถ้าจับตะพาบที่ขอบเชิงกระดองด้านข้าง
จะมีอันตราย ดังนั้นถ้าเป็นลูกตะพาบหรือเป็นตะพาบที่ยังมีขนาดไม่โตนัก
ก็อาจจับพลิกให้หงายท้อง แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ จับคีบบริเวณโคนขาหลัง
คีบให้ชิดกับส่วนท้ายของกระดองท้อง จับคีบพอกระชับ อย่ากดจิกปลายนิ้วลง
ในช่องท้องตะพาบแรงมาก ถ้าเป็นตะพาบที่มีขนาดเขื่องขึ้นหน่อย ควรจับโดยใช้มือข้างหนึ่งล้วงจับที่ส่วนต้นกระดองล้วงลงระหว่าง
ต้นกระดองหลัง กับส่วนบนของคอ อีกมือหนึ่งหงายมือจับส่วนท้ายกระดองหลัง
(เป็นส่วนท้ายเชิงกระดองอ่อน) ซึ่งสามารถยกตะพาบขึ้นได้สะดวก ตะพาบกัดไม่ได้
และตะพาบก็ใช้เล็บแหลมคมข่วนไม่ได้
|
|
|
|
ตอนต่อไปจะแนะนำวิธีการประคองสัตวสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก
เช่นจำพวก กบ เขียด หรือคางคก >>
คัดลอกมาจาก
สารศูนย์สัตวศาสตร์ไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 69 โดย น.อ.วิโรจน์ นุตพันธ์
|
|
|
|